สวัสดีปีใหม่..ก้าวอย่างไรให้มั่นคง

โดย Admin T
 วันที่ 12 ม.ค. 2565 เวลา 16:59 น.
 1081

สรุปการเสวนา FTC Talk
สวัสดีปีใหม่..ก้าวอย่างไรให้มั่นคง

 
          รายการ FTC Talk เปิดปีศักราชใหม่ ปี 2565 ได้รับเกียรติ จากแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ท่านประธานที่ปรึกษา FTC  นพ.วัชรา ทรัพย์สุวรรณ และผู้เชียวชาญด้านการเงินธนาคาร ดร.สุเมธา โพธิ์ประสาท อดีต Vice President ฝ่ายฝึกอบรม บจก.ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารสุขภาพร่างกาย สุขภาพการเงินให้มีความมั่นคง และมั่งคั่ง
 
การดูแลสุขภาพยังเป็นเรื่องสำคัญหรือไม่ ?
       นพ.วัชรา : ตัวชี้วัดเศรษฐกิจและชีวิตปัจจุบันคือโควิด เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน เข้าใจว่าช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาคนโหยหาการท่องเที่ยวขาดความระมัดระวังทำให้ตัวเลขเพิ่มขึ้น โควิดสายพันธุ์โอไมครอนระบาดไวแต่ไม่ลงปอด กระจายไวแต่ไม่อันตรายรุนแรง โอกาสใช้ท่อช่วยหายใจ 5% อาจจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ หรือกลายพันธุ์ แลกรหัสพันธุกรรมกับเดลต้าและกลายพันธุ์ต่อ เมื่อคาดการณ์ไม่ได้ก็ต้องป้องกันตนเอง รักษาระยะห่าง วัคซีนยังควรฉีดอยู่ ยืนยันตามแพทย์กระแสหลัก หลังจากฉีดวัคซีน โควิดลดลง 70% โควิดสายพันธุ์โอไมครอนคือความท้าทายทางเศรษฐกิจ รวมถึงภัยพิบัติต่างๆ และความขัดแยกทางการเมืองที่แบ่งขั้วชัดเจน ทำให้การขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
 
โรค NCD เป็นอีกหนึ่งปัญหาทางสุขภาพที่รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญ
        นพ.วัชรา : สมัยเป็น นักศึกษาแพทย์ โชคดีได้มีโอกาสพูดคุยกับรัฐมนตรีสาธารณสุข  อาจารย์ที่สอนผมได้พูดคุยคุยกับรัฐมนตรี
       “สิ่งที่เสียใจมากที่สุด คือรัฐปล่อยให้ขายน้ำหวาน น้ำอัดลม เราต้องหาทางลดโรคพวกนี้ เบาหวาน หัวใจ มะเร็ง ลดพฤติกรรมบริโภค ออกำลังกาย “
โรคไตคือเป็นอีกหนึ่งโรคที่ต่อเนื่องจากเบาหวานและความดัน ถ้าเราลดโรค NCD ได้ เราจะลดค่าใช้จ่ายของรัฐในการรักษาโรคพวกนี้ อาหารที่เราทานทุกวันนี้ หาง่าย ชอบอะไรด่วนๆ และรวดเร็ว เลยเป็นเหตุให้อัตราการป่วยเป็นโรไตมากขึ้น เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก แม้แต่หมอเองที่ตรวจคนไข้ก็ไม่ได้ตระหนักเรื่องนี้ป่วยเป็น NCD ก็มาก ฉะนั้นอย่าปล่อยให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน

ขาดวินัยไม่ออกกำลังกาย ไม่ดุแลสุขภาพแก้ไขอย่างไรดี
         นพ.วัชรา : “คนเราเคลื่อนไปข้างหน้า มี 2 อย่าง หนึ่งความปารถณา สองความกลัว”
ถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพเราให้ดี บทลงโทษคือเราจะเป็นคนป่วย เราขับรถไปข้างหน้าเมื่อรู้ว่าเป็นเหวเรายังต้องเหยียบเบรกใช่ไหม  ผมเคยขี้เกียจออกกำลังกาย จนกระทั่งปวดทั้งตัว เวลาเดินทางมีปัญหา เสียค่าอุปกรณ์มารักษาเยอะ เคยไปรักษาศูนย์กายภาพบำบัด รักษาไปประมาณหนึ่งปี เพื่อนบอกรักษาต่อไม่ได้ เลยถามเป็นอะไร เพื่อนบอกไม่รู้ บอกว่าร่างกายผมไม่ฟิต วันรุ่งขึ้นเลยออกไปวิ่ง 10 นาที วันต่อมาปวดทั้งตัว เลยถามตัวเองจะทนความปวดแบบนี้ต่อไป หรือตัดสินใจสู้กับมัน ผมตัดสินใจสู้วิ่งต่อกัน 7 วัน อาการปวดหาย ทุกวันนี้ตื่นเช้า ออกกำลังกาย หลากหลาย กลิ้งลูกกลิ้ง รำกระบี่กระบอง เพราะนึกถึงบทลงโทษ และรางวัลที่เราจะได้เมื่อขยันออกกำลังกาย
 
การจัดการ การเงินส่วนบุคคลในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ ควรเริ่มต้นอย่างไรดี
         ดร.สุเมธา : โควิด และการเมืองมีผลระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ความจริงเศรษฐกิจขึ้นๆ ลงๆ เป็นแบบนี้มานานแล้ว สิ่งเหล่านี้เพียงมากระตุ้นให้เกิดไวขึ้นส่วนตัวดูทุกๆ ครึ่งปี วิเคราะห์ ประเมินสถานะทางการเงินของเรา ปีที่ผ่านมาธุรกิจผมบางตัวยอดลดลง แต่ผมมีเงินสดและทำอย่างอื่นเพิ่ม เป็นการวางแผนล่วงหน้ามีพิมพ์เขียวของตัวเอง เขียนทรัพย์สิน หนี้สิน อยู่ตลอดเวลา รายได้เฉลี่ยเราทั้งปีคูณ 12 หาร 10 จะเท่ากับเงินที่ต้องมีสำรองเป็นสภาพคล่องอาจไม่ใช่เงินสดทั้งหมด อาจะเป็นทรัพ์สิน เช่น บ้าน รถยนต์ถ้ายังไม่เป็นไปตามสูตรด้านบนแปลว่ายังไม่มั่งคง มองไปในอนาคต ถ้าเศรษฐกิจแบบนี้เราจะอยู่ยังไง ภาระเศรษฐกิจรุ่งเรืองมีคนจน เศรษฐกิจย่ำแย่ก็มีคนรวย
       “คนรวยคนจนต่างกันที่ความคิด คนจนมีแผน คนรวยไม่มีแผน”
ผมตั้งเป้าหมาย ปี 2555 สร้างชีวิตเริ่มด้วยศูนย์ ต้องมี 10 ล้าน เขียนเป้าหมายและจะมีวิธีการเขียนให้ชัดลงรายละเอียด คือสร้าง  กลยุทธ วางแผนจะทำอะไร มีความรู้อะไร สร้างรายได้กลับเข้ามาให้ทวีคูณ จบปี 28 มิถุนายน 2555  รวม 5 ปี 10 เดือน ผมมี 16 ล้าน ถ้าไม่ทำอะไรเวลาก็ผ่านไปเฉยๆ และต่อมาป่วยค่าใช้จ่ายเป็นล้านโชคดีมีวัสดิการพนักงานดูแล แนะนำทุกคนเช็คสวัวดิการตัวเอง ไม่ต้องอาย ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพจะได้ไม่ต้องกังวล ทั้งหมดนี้เรียนรู้แล้วต้องลงมือทำ ถ้าไม่ลงมือทำทุกอย่างก็จะเป็นศูนย์
 
วางแผนทางการเงินอย่างไรในยุคเศรษฐกิจเช่นนี้
      ดร. สุเมธา : เมื่อวางแผนชีวิตเรียบร้อย กลับมาดูรายละเอียด ดูค่าใช้จ่าย เราหาไอดอลเป็นเรื่องๆ ไป เช่น แม่เผม เป็นคนจดรายรับ-รายจ่าย โชคดีอยู่ใกล้ชิดแม่เลยได้เรียนรู้วิชานี้มา เมื่อวานชวนแม่ลงทุน แม่มีเงินสด 3แสน เอาไปลงทุนได้ ขาดทุนไม่เป็นไรเพราะมีส่วนอื่นสำรอง เรียนรู้เพื่อหาเงินเพิ่มสำคัญ โชคดีที่แคยเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดของธนาคารมาก่อน ได้คุยกับคนมีมากมายโดยเฉพาะคนรวย เขาเลยบอกวิธีการทำงานทำอย่างเดียวไม่พอ ต้องลงทุนด้วยเพราะการลงทุนในตลาดเงินช้า ในอดีตอาจดอกเบี้ยสูง การลงทุนสร้างความทวีคูณในการต่อเงินได้ เช่น ทรัพย์สินธนาคารถือครองได้ไม่เกินปี ช่วง 5 ปี แรกธนาคารพยายามตัดขาย เราจะได้ราคาถูก ทำอะไรไม่ได้ก็ไปดูเขาก่อน 
      “การลงทุนมีความหลากหมายต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ ศึกษาว่าเรายอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน กลุ่มไหนที่เราควรจะเล่น ศึกษาก่อน ซื้อเช้าบ่ายขาย คือการพนัน”
      เริ่มต้นเสียงน้อย แล้วค่อยๆ ขยับ มีวินัย อย่าใช้เงินไปในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ผมได้เงิน จัดสรรเป็นหลายๆ ส่วน เพื่อนำมาลงทุนต่อ ไม่ใช่ใช้หมด เศรษฐกิจต่อจากนี้ฟื้นตัวยาก เริ่มต้นดูแลตัวเอง เศรษฐกิจล่มมีคนรวย เศรษฐกิจดีมีคนจน ออมไว้เพื่อลดความเสี่ยงอนาคตที่ไม่แน่นอน ชีวิตต้อระวัง
      นพ.วัชรา : สุขภาพคือความมั่งคั่งอันดับแรก ต่อมาถ้าเราไม่บริหารจัดการการเงิน เงินจะจัดการเรา เตรียมตัวพร้อมสำหรับโอกาสใหม่ๆ เสมอ